วันพุธที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560

ภารกิจพิเศษ สรุปเนื้อหานิทาน เรื่องผาแดงนางไอ่

ภารกิจพิเศษ สรุปเนื้อหานิทาน เรื่องผาแดงนางไอ่


เรื่อง ท้าวผาแดงนางไอ่


จัดทำโดย
นางสาวพัชรียา กาฬพันธ์ ชั้นปีที่ 3 หมู่ 2
รหัสนักศึกษา 57210406228


เสนอ
อาจารย์วัชรวร   วงศ์กัณหา
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่น

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์


คำนำ

           รายงานเรื่อง ท้าวผาแดงนางไอ่ เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่นระดับปริญญาตรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเกี่ยวกับวรรณกรรมพื้นบ้านเรื่องท้าวผาแดงนางไอ่ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักและการแข่งขัน ความมานะอดทน พร้อมทั้งศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของหนังสือ
ผู้จัดทำต้องขอขอบคุณท่านอาจารย์วัชรวร  วงศ์กัณหา ผู้ให้ความรู้ ชี้แนะแนวทางในการศึกษา และคอยแนะนำติชมมาโดยตลอดผู้ทำรายงานฉบับนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานเล่มนี้จะให้ความรู้และเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกท่าน

                                                                                                                                 ผู้จัดทำ

                                                                                                             นางสาวพัชรียา  กาฬพันธ์


สารบัญ
เรื่อง
บทที่ 1 สรุปเนื้อหานิทานเรื่องท้าวผาแดงนางไอ่
  1.1 ที่มาและความสำคัญ
  1.2 ประวัติหนังสือ/ ผู้แต่ง/ ปีที่แต่ง/สำนักพิมพ์
บทที่ 2  วิเคราะห์  ชื่อและเนื้อหาในวรรณกรรมเรื่องสังข์ศิลป์ชัย
2.1  ชื่อเรื่องมาจากอะไร                                                                                                        
2.2  แก่นเรื่อง                                                                                                                                 
2.3  โครงเรื่อง                                                                                                                                   
2.4  ตัวละคร                                                                                                                                     
2.5  ภาษา                                                                                                                                        
2.6  ฉาก/สถานที่
บทที่ 3 ความโดเด่นของโครงเรื่อง                                                                                     
บทที่ 4 การนำไปประยุกต์ใช้                   

บทที่ 1
สรุปเนื้อหานิทานเรื่องผาแดงนางไอ่

            เมื่อนั้นยังมีเมืองใหญ่กว้างอยู่เมืองหนึ่งชื่อ เอกชะธีตา มีพระยาขอมเป็นกษัตริย์ปกครองเมืองด้วยความร่มเย็นไม่มีความเดือดร้อน ประชาชนอาศัยอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข มีพระมเหสีชื่อนางจันทร์จอม ต่อมานางตั้งครรภ์ และได้ประสูติออกมาเป็นหญิงมีผิวพรรณสวยงามดุจดังกล้วยสุกเหมือนกับว่าสวรรค์นั้นส่งนางลงมาเกิดยังโลกมนุษย์ จึงได้ตั้งชื่อว่านางไอ่คำเมื่อโตเป็นสาวไม่ว่าใครก็ทราบชื่อเสียงในเรื่องของความงามของนางไอ่คำเป็นอย่างดีซึ่งเป็นที่รักและหวงแหนมากจึงสร้างปราสาทให้อยู่พร้อมเหล่าสนม กำนัล คอยดูแลอย่างดี 
            จากนั้นกล่าวถึงน้องพระยาขอม พระยาขอมต่างแบ่งเมืองให้น้องชายและหลานเหลนปกครองเมือง เช่น เมืองฟ้าแดด เมืองหงส์ เมืองสีแก้ว เป็นต้น ขณะเดียวกันยังมีเมืองอีกเมืองหนึ่งชื่อ เมืองผาโพง มีเจ้าชายนามว่า  ท้าวผาแดง  เป็นกษัตริย์ปกครองอยู่ ท้าวผาแดงแห่งเมืองผาโพง ได้ยินกิตติศัพท์ความงามของธิดาไอ่คำมาก่อนแล้ว ใคร่อยากจะเห็นหน้า จึงปลอมตัวเป็นพ่อค้าพเนจร ถึง นครเอกชะทีตา และติดสินบนนางสนมกำนัล ให้นำของขวัญลอบเข้าไปให้นางไอ่คำ ด้วยผลกรรมที่ผูกพันกันมาแต่ชาติ ปาง ก่อนนางไอ่คำกับท้าวผาแดง จึงได้มีใจปฏิพัทธ์ต่อกัน จนในที่สุดทั้ง 2 ก็ได้รักกันก่อนท้าวผาแดงจะจากไป เพื่อจัดขบวนขันหมากมาสู่ขอ ทั้ง 2 ได้คร่ำครวญต่อกันด้วยความอาลัยยิ่ง วันเวลาผ่านไปถึงเดือน 6 เป็นประเพณีแต่โบราณของเมืองเอกชะทีตา จะต้องมีการทำบุญบั้งไฟบูชาพญาแถนระยาขอม จึงได้ประกาศบอก ไปตามหัวเมืองต่าง ๆ ว่า บุญบั้งไฟปีนี้จะเป็นการหาผู้ที่จะมาเป็นลูกเขยอีกด้วย ขอให้เจ้าชายหัวเมืองต่างๆ จัดทำบั้งไฟมาจุดแข่งขันกัน ผู้ใดชนะก็จะได้อภิเษกกับพระธิดาไอ่คำด้วย
ข่าวนี้ได้ร่ำลือไปทั่วสารทิศ ทุกเมืองในขอบเขตแว่นแคว้นต่างก็ส่งบั้งไฟเข้ามาแข่งขัน เช่น เมืองฟ้าแดดสูงยาง เมืองเชียงเหียน เชียงทอง แม้กระทั่งพญานาคใต้เมืองบาดาลก็อดใจไม่ไหว ปลอมตัวเป็นกระรอกเผือกมาดูโฉมงามนางไอ่คำด้วยในวันงานบุญบั้งไฟ เมื่อถึงวันแข่งขันจุดบั้งไฟ ปรากฏว่า บั้งไฟท้าวผาแดงจุดไม่ขึ้นพ่นควันดำอยู่ถึง 3 วัน 3 คืน จึงระเบิดแตกออกเป็นเสี่ยง ๆ ทำให้ความหวังท้าวผาแดงหมดสิ้นลง ขณะเดียวกัน ท้าวพังคีพญานาค ที่ปลอมเป็นกระรอกเผือก มาไต่เต้นไปมาอยู่บนยอดไม้ ข้างปราสาทนางไอ่คำ ก็ปรากฏร่างให้นางไอ่คำเห็น นางจึงคิดอยากได้มาเลี้ยง แต่แล้วก็จับไม่ได้ จึงบอกให้นายพราน ยิงเอาตัวตายมา ในที่สุดกระรอกเผือกพังคีก็ถูกยิงด้วยลูกดอกจนตาย ก่อนตายท้าวพังคีได้อธิษฐานไว้ว่า ขอให้เนื้อของข้าได้แปดพันเกวียน คนทั้งเมืองอย่าได้กินหมดเกลี้ยง จากนั้นร่างของกระรอกเผือกก็ใหญ่ขึ้น จนผู้คนแตกตื่นมาดูกันและจัดการแล่เนื้อแบ่งกันไปกินทั่วเมืองด้วยว่าเป็นอาหาร ทิพย์ ยกเว้นแต่พวกแม่ม่ายที่ชาวเมืองรังเกียจ ไม่แบ่งเนื้อกระรอกให้พญานาคแห่งเมืองบาดาลทราบข่าวท้าวพังคีถูกมนุษย์ฆ่าตาย แล่เนื้อไปกินกันทั้งเมือง จึงโกธรแค้นยิ่งนัก ดึกสงัดของคืนนั้นขณะที่ชาวเมืองชะทีตากำลังหลับไหลเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นท้องฟ้าอื้ออึงไปด้วยพายุฝนฟ้า กระหน่ำลงมาอย่างหนัก ฟ้าแลบอยู่ไม่ขาด แผ่นดินเริ่มถล่มยุบตัวลงไปทีละน้อย ท่ามกลางเสียงหวีดร้องของผู้คนที่วิ่งหนี ตาย พญานาคผุดขึ้นมานับหมื่น นับแสนตัว ถล่มเมืองชะทีตาจมลงใต้บาดาลทันที คงเหลือไว้เป็นดอน 3 - 4 แห่ง ซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกแม่ม่ายที่ไม่ได้กินเนื้อกระรอกเผือกจึงรอดตายฝ่ายท้าวผาแดงได้โอกาสรีบควบม้าหนีออกจากเมืองโดยไม่ลืมแวะรับพระธิดาไอ่คำไปด้วยแต่แม้จะเร่งฝีเท้า ม้าเท่าใด ก็หนีไม่พ้นทัพพญานาคที่ทำให้แผ่นดินถล่มตามมา
 ในที่สุดก็กลืนท้าวผาแดงและพระธิดาไอ่คำพร้อมม้าแสน รู้ชื่อ บักสาม จมหายไปใต้พื้นดินรุ่งเช้าภาพของเมืองเอกชะธีตาที่เคยรุ่งเรืองโอฬาร ก็อันตธานหายไปสิ้น คงเห็นพื้นน้ำกว้างยาวสุดตา ทุกชีวิตในเมืองเอกชะธีตาจมสู่ใต้บาดาลจนหมดสิ้น เหลือไว้แต่แม่ม่ายบนเกาะร้าง 3 - 4 แห่ง ในผืนน้ำอันกว้างนี้ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นหนองหานหลวง ดังปรากฏในปัจจุบัน. 

1.1 ที่มาและความสำคัญ
         วรรณกรรมเรื่องท้าวผาแดงนางไอ่เป็นวรรณกรรมที่น่าสนใจในการศึกษา ซึ่งมีตัวละครที่โดดเด่นและเป็นที่รู้จักนั่นก็คือ ท้าวผาแดงและนางไอ่คำ รจนา เนื้อเรื่องมีความสนุกสนานและเป็นที่นิยมกันอย่างมากจึงมีการนำมาดัดแปลงและเผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ บทละคร นิทาน ภาพยนตร์รวมทั้งวรรณกรรมเรื่องนี้ยังเชื่อมโยงไปยังวัฒนธรรมประเพณีของชาวอีสานนั่นก็คือ บุญบั้งไฟอีกด้วย

1.2 ประวัติหนังสือ/ ผู้แต่ง/ ปีที่แต่ง/สำนักพิมพ์
          ต้นฉบับมาจาก หนังสือ ประวัติพระธาตุนารายณ์เจงเวง โดย พระมหาประมวล ฐานทตฺโต 
แต่งและเรียบเรียงโดย เตชวโรภิกขุ (อินตา กวีวงศ์) อักษรธรรม 8 ผูก วัดสุทธาวาส บ้านโสกใหญ่ ต.ลือ อ.พนา จ.อุบลราชธานี  ยุคสมัยที่แต่ง ปี พ.ศ. 2544 ในสมัยรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช



บทที่ 2 
 วิเคราะห์ชื่อและเนื้อหาในวรรณกรรมเรื่องท้าวผาแดงนางไอ่

2.1  ชื่อเรื่องมาจากอะไร        
        จากวรรณกรรมท้องถิ่นเรื่อง ท้าวผาแดงนางไอ่ ชื่อเรื่องนั้นได้นำมาจากตัวละครซึ่งเป็นตัวละครเอกทั้งฝ่ายชายและหญิง นั่นก็คือ ท้าวผาแดงเป็นตัวละครเอกของฝ่ายชาย นางไอ่เป็นตัวละครเอกของฝ่ายหญิงซึ่งทั้งสองมีความสำคัญกับการดำเนินเรื่องเป็นอย่างมาก                                                                                                
2.2  แก่นเรื่อง                              
  โศกนาฏกรรมของความรักทั้งสามคนนำพามาซึ่งความหายนะ

2.3  โครงเรื่อง     

การเปิดเรื่อง
-  กล่าวถึงเมืองเอกชะธีตาที่ปกครองโดยกษัตริย์ขอมอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา
-  กษัตริย์มีลูกสาวชื่อนางไอ่คำเป็นหญิงที่มีความงามมาก จนเป็นที่หมายปองของชายหนุ่ม   
   การดำเนินเรื่อง
-  เจ้าชายผาแดงซึ่งเป็นกษัตริย์อีกเมืองอยากชมโฉมจึงได้แปลงกายเป็นพ่อค้าเข้าในเมืองเอกชะธีตา
-  ทันใดนั้นด้วยบุญบารมีที่สร้างร่วมกันมาตั้งแต่อดีตชาติจึงทำให้ทั้งคู่ถูกชะตาและรักกัน
-  ผาแดงรักนางไอ่คำมาก แต่ต้องทำตามประเพณีบ้านเมืองคือไปยกขันหมากมาจากบ้านเมืองตนเพื่อ         สู่ขอนางไอ่คำ ทั้งสองจึงแยกจากกัน
-  บ้านเมืองของนางไอ่คำมีประเพณีบูชาบั้งไฟ ส่วนพญาขอมอยากให้ลูกสามีคู่ครองจึงจัดการแข่งขัน         บั้งไฟ ของใครชนะจะได้นางไอ่คำไปครอง
-   ผาแดงรู้ข่าวก็รีบทำบั้งไฟมาแข่งขันแต่บั้งไฟผาแดงเกิดแตก และไม่ขึ้นไปบนฟ้าทำให้ผาแดงพ่ายแพ้     ทั้ง 2 จึงไม่ได้ครองรักกัน
-   พังคีซึ่งเป็นพญานาค ในอดีตชาตินั้นเคยรักกันกับนางไอ่คำจึงแปลงกายเป็นกระรอกเผือกขึ้นมาบน         เมืองมนุษย์
จุดสูงสุดของเรื่อง
-   นางไอ่คำเห็นกระรอกเผือกแล้วอยากได้แต่พยายามจับเท่าไหร่ก็ไม่ได้จึงบอกนายพรานมาจับกระรอก      แต่นายพรานนั้นได้ใช้ธนูยิงจนกระรอกเผือกตัวนั้นตาย
จุดจบของเรื่อง
-  เมื่อพ่อของพังคีรู้ข่าวว่าเมืองมนุษย์นั้นฆ่าลูกชายของตนจึงโกรธแค้นมาก
-  พญานาคนับแสนตัวขึ้นมาถล่มเมืองมนุษย์ 
-  ผาแดงได้ยินข่าวรีบควบม้าบักสามมาเพื่อช่วยนางไอ่แต่ก็ไม่ทันทั้ง 2 ถูกสูบลงสู่เมืองบาดาล
-  เหลือเพียงแม่ม่ายที่ไม่ได้กินเนื้อกระรอกเผือกที่ยังมีชีวิตอยู่บนแผ่นดินมนุษย์
                                                                                                
2.4  ตัวละคร  
ท้าวผาแดง – เป็นพระเอกของเรื่องมีความมานะอดทนเพื่อที่จะได้แต่งงานกับนางไอ่คำ มีความซื่อสัตย์ รักเดียวใจเดียว กล้าหาญไม่เกรงกลัวสิ่งใด เป็นผู้ที่มีนิสัยดีถึงแม้จะทำผิดก็กล้ายอมรับผิด มีรูร่างสูงใหญ่น่าเกรงขาม
นางไอ่คำ – เป็นนางเอกของเรื่อง เป็นลูกของกษัตริย์เมืองขอมที่มีความสวยงามจนเป็นที่หมายปองของชาย มีกิริยาท่าทางอ่อนหวาน จิตใจดีมีเมตตา ในอดีตชาตินั้นเคยเป็นคู่รักของ ผาแดง และ พังคี
พังคี – เป็นพญานาคซึ่งในอดีตชาตินั้นเคยเป็นคู่รักกับนางไอ่คำ เป็นคนที่มีความซื่อสัตย์ต่อคนรัก ยอมเสียสละ ใจเย็นมีสติ
พระยาขอม – เป็นบิดาของนางไอ่คำ รักความสงบ ปกครองเมืองด้วยความร่มเย็นเป็นสุข มีเมตตากรุณา
 พยานาคพ่อของพังคี – เป็นพญานาคผู้น่าเกรงขาม มีนิสัยใจร้อน โมโหง่าย โกรธแค้น รักลูกยิ่งกว่าสิ่งใดในโลก ไม่สามารถเอาชนะความโกรธในจิตใจของตนเองได้                  
2.5  ภาษา              
ภาษาที่ใช้แต่งเป็นภาษาอีสาน เป็นบทคำกลอนอีสาน ในเรื่องมีการใช้โวหาร เช่น อุปมา อุปลักษณ์ อติพจน์ และโวหาร ใช้ภาษาในลักษณะของการใช้ถ้อยคำ เช่น การใช้คำง่าย คำยาก คำซ้ำ คำซ้อนอุทาหรณ์                               
2.6  สถานที่
1. เมืองเอกชะธีตา  - มีกษัตริย์ขอมปกครองด้วยความรักความเมตตาอยู่ร่วมกันกับชาวประชาอย่างมีความสุขมีลูกสาวที่แสนงดงามจนเป็นที่หมายปองของชายนั่นก็คือธิดาไอ่คำ
2. ลานประลองบั้งไฟ – ลานประลองบั้งไฟจัดขึ้นเพื่อบูชาเป็นประเพณีของชาวเมืองเอกชะธีตา ซึ่งในครั้งนี้ถ้าบั้งไฟใครชนะจะได้นางไอ่คำไปครอง
3. เมืองผาโผง - ปกครองโดยท้าวผาแดงผู้มากความสามารถ รูปร่างกำยำน่าเกรงขามปกครองด้วยความเป็นธรรมบ้านเมืองสงบร่มเย็น
4. เมืองพญานาค – ปกครองด้วยพญานาคซึ่งมีลูกชายนามว่าพังคี อยู่กันอย่างสงบสุขในเมืองบาดาลเมื่อลูกชายขึ้นมาเมืองมนุษย์ถูกมนุษย์จับกินจึงโกรธแค้นไปทำลายจนเมืองทั้งเมืองจมลงสู่บาดาลเหลือแค่บางที่สำหรับคนที่ไม่ได้กินเนื้อพังคี
2.7 ฉาก 
1. มีเมืองหนึ่งปกครองโดยกษัตริย์ขอมอยู่เย็นเป็นสุข
2. กษัตริย์ขอมมีลูกสาวชื่อไอ่คำสวยจนได้สร้างปราสาทเก็บตัว
3. เจ้าชายผาแดงอยากชมโฉมจนปลอมตัวเอ็นพ่อค้าเข้ามาเมืองเอกชะธีตา
4. ท้าวผาแดงและนางไอ่คำเกิดความรักกัน จึงได้ทำให้ผาแดงกลับเมืองเพื่อยขันหมากมาสู่ขอ
5. ประเพณีบ้านนางไอ่คำจุดบั้งไฟบูชา ใครชนะจะได้ครองนางไอ่คำ
6. ผาแดงจุดบั้งไฟไม่ขึ้นทำให้หมดหวังกับความรัก
7. พังคีซึ่งเป็นพญานาคเคยรักกับนางไอ่ในอดีตชาติแปลงกายเป็นกระรอกเผือก
8. นางไอ่คำอยากได้กระรอกเผือกจึงทำให้นายพรานจับแต่ไม่ได้จึงจับด้วยการฆ่า
9. ก่อนกระรอกเผือกตายได้อธิษฐานว่าขอให้เนื้อตนเองได้แปดพันเกวียน
10. พ่อของพังคีได้ทราบข่าวโกรธแค้นเป็นอย่างมาก 
11. พญานาคนับแสนตัวถล่มเมืองเอกชะธีตา
12. ผาแดงมาช่วยนางไอ่แต่ก็ช่วยไม่ได้ทำให้ทั้ง 2 จมลงสู่เมืองบาดาล
13. เมืองเอกชะธีตาจมลงสู่เมืองบาดาลเหลือเพียงแม่ม่ายที่ไม่ได้กินเนื้อกระรอกเผือก

บทที่ 3
         ความโดดเด่นของโครงเรื่อง             

         วรรณกรรมท้องถิ่นเรื่องท้าวผาแดงนางไอ่เป็นนิทานคำกลอนอีสานใช้ภาษาอีสานในการแต่งทำให้คนอีสานเข้าใจได้อย่างง่ายดาย สนุกสนาน อีกทั้งโครงเรื่องที่น่าติดตามเพราะท้าวผาแดงและพังคีเป็นอดีตชาติของความรักนางไอ่ อีกทั้งในเรื่องนี้ยังให้ข้อคิดการใช้ชีวิตมากมายแก่ผู้ที่อ่านเป็นอย่างมาก

บทที่ 4 
         การนำไปประยุกต์ใช้         
          
วรรณกรรมเรื่องท้าวผาแดงนางไอ่เป็นวรรณกรรมที่น่าสนใจในการศึกษา ซึ่งมีตัวละครที่โดดเด่นและเป็นที่รู้จักนั่นก็คือ ท้าวผาแดงและนางไอ่คำ รจนา เนื้อเรื่องมีความสนุกสนานและเป็นที่นิยมกันอย่างมากจึงมีการนำมาดัดแปลงและเผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ บทละคร นิทาน ภาพยนตร์

ยกตัวอย่าง
       สาขาวิชาภาษาไทยมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ได้นำเรื่องผาแดงนางไอ่ มาสร้างเป็นละครเวที ทำให้ผู้คนชอบเนื้อหาของเรื่องและสนุกสนานไปกับการแสดงของเหล่านักแสดง



สรุปท้ายเรื่องอินโฟกราฟฟิก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น